วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

แบงค์ปลอม


จุดสังเกตธนบัตรปลอม

1. แทบเงินตัวสะท้อนแสง

2. มีลักษณะเหมือนถูกรีดลงไปทับตราครุฑ แล้วลายจะไม่ชัดเจน

3. สีสรรจะไม่สวยเหมือนของจริง

4. ของปลอมจะไม่สะท้อนแสงแล้วสีสรรไม่สดใส

5. ลายน้ำจะเห็นรูปพระลักศณ์ไม่ชัดเจนเมื่อส่องแสง

6. เนื้อกระดาษจับดูสาก ๆ

7. เมื่อธนบัตรถูกน้ำแล้วสีจะละลาย จุดสังเกตธนบัตรจริง

-จะมีเลข 500 แสดงอยู่ตลอดแถบเงิน

-สีสรรจะคมชัดแล้วสวยกว่าของปลอม

-ของจริงจะสะท้อนแสงสีสันจะดูสดใสกว่า

-จะเห็นลายน้ำชัดเจนเมื่อส่องกับแสง

-เนื้อกระดาษจะลื่นกว่าของปลอม

-เมื่อธนบัตรถูกน้ำแล้วสีจะไม่ละลาย

ระวังแบงค์ปลอมนะเพื่อนๆ มันหลอน^_^



วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

English

Something that parents want about me?My parents say, they want me to be a man, who is doinga good thing to sociality and, I think may be, I can do .My mother want me to get a good grade , I think she wantme to stay in the good university and have a good job andmay be

English

Something that parents want about me?My parents say, they want me to be a man, who is doinga good thing to sociality and, I think may be, I can do .My mother want me to get a good grade , I think she wantme to stay in the good university and have a good job andmay be

พระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์

พระเจ้าสัญชัย ทรงครองราชสมบัติเมืองสีวี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนดประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาด ร้านค้า บังเอิญในขณะเสด็จประพาสนั้น พระนางทรงเจ็บครรภ์และประสูติพระโอรสในบริเวณย่านนั้น พระโอรสจึงทรงพระนามว่า เวสสันดร หมายถึง ในท่ามกลางระหว่างย่านค้าขาย พร้อมกับที่พระโอรสประสูติ ช้างต้นของ พระเจ้าสัญชัยก็ตกลูกเป็นช้างเผือกเพศผู้ได้รับชื่อว่า ปัจจัยนาค เป็นช้างต้นคู่บุญพระเวสสันดร เมื่อพระกุมารเวสสันดรทรงเจริญวัยขึ้น ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบริจาคทาน มักขอพระราชทานทรัพย์จากพระบิดามารดา เพื่อบริจาคแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงขอให้พระบิดาตั้งโรงทานสี่มุมเมือง เพื่อบริจาคข้าวปลาอาหารและสิ่งของจำเป็น แก่ประชาชน และหากมีผู้มาทูลขอสิ่งหนึ่ง สิ่งใด พระองค์ก็จะทรงบริจาคให้โดยมิได้เสียดาย ด้วยทรงเห็นว่า การบริจาคนั้นเป็นกุศลเป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้ ผู้รับก็จะพ้นความเดือดร้อน ผู้ให้ก็จะอิ่มเอิบเป็นสุขใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และยังทำให้พ้นจากความโลภความตระหนี่ถี่เหนียวในทรัพย์สมบัติของตนอีกด้วย พระเกียรติคุณของพระเวสสันดรเลื่องลือไปทั่วทุกทิศว่าทรงมีจิตเมตตาแก่ผู้อื่นมิได้ ทรงเห็นแก่ความสุขสบายหรือเห็นแก่ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ มิได้ทรงหวงแหนสิ่งใด ไว้สำหรับพระองค์
อยู่มาครั้งหนึ่งในเมืองกลิงคราษฏร์เกิดข้าวยากหมายแพงเพราะฝนแล้ง ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ ราษฎร์อดอยากได้รับความเดือนร้อนสาหัส ประชาชน ชาวกลิงคราษฏร์พากันไปเฝ้าพระราชา ทูลว่าในเมืองสีวีนั้นมีช้างเผือกคู่บุญพระเวสสันดร ชื่อว่า ช้างปัจจัยนาค เป็นช้างมีอำนาจพิเศษ ถ้าอยู่เมืองใด จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์จะบริบูรณ์ ขอให้พระเจ้ากลิงคราษฏร์ ส่งทูตเพื่อไปทูลขอช้างจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรก็จะทรงบริจาคให้เพราะพระองค์ไม่เคยขัดเมื่อมีผู้ทูลขอสิ่งใด พระเจ้ากลิงคราษฏร์จึงส่งพราหมณ์แปดคนไปเมืองสีวี ครั้นเมื่อพราหมณ์ได้พบ พระเวสสันดรขณะเสด็จประพาสพระนคร ประทับบนหลังช้างปัจจัยนาค พราหมณ์จึง ทูลขอช้างคู่บุญเพื่อดับทุกข์ชาวกลิงคราษฏร์ พระเวสสันดรก็โปรดประทานให้ตามที่ขอ ชาวสีวีเห็นพระเวสสันดรทรงบริจาคช้างปัจจัยนาคคู่บ้านคู่เมืองไป ดังนั้น ก็ไม่พอใจ พากันโกรธเคืองว่าต่อไปบ้านเมืองจะลำบาก เมื่อไม่มีช้างปัจจัยนาคเสียแล้ว
จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระเจ้าสัญชัย ทูลกล่าวโทษพระเวสสันดรว่าบริจาคช้างคู่บ้านคู่เมือง แก่ชาวเมืองอื่นไป ขอให้ขับพระเวสสันดรไปเสียจากเมืองสีวี พระเจ้าสัญชัยไม่อาจขัดราษฏรได้ จึงจำพระทัยมีพระราชโองการให้ขับพระเวสสันดร ออกจากเมืองไป พระเวสสันดรไม่ทรงขัดข้อง แต่ทูลขอพระราชทานโอกาสบริจาคทาน ครั้งใหญ่ก่อนเสด็จออกจากพระนคร พระบิดาก็ทรงอนุญาตให้พระเวสสันดรทรงบริจาค สัตสดกมหาทาน คือบริจาค ทานเจ็ดสิ่ง สิ่งละเจ็ดร้อย แก่ประชาชนชาวสีวี
เมื่อพระนางมัทรี พระมเหสีของพระเวสสันดรทรงทราบว่า ประชาชนขอให้ขับพระเวสสันดร ออกจากเมือง ก็กราบทูลพระเวสสันดรว่า"พระองค์เป็นพระราชสวามีของหม่อมฉัน พระองค์เสด็จไปที่ใด หม่อมฉันจะขอติดตาม ไปด้วยทุกหนทุกแห่ง มิได้ย่อท้อต่อความ ลำบาก ขึ้นชื่อว่าเป็นสามีภรรยาแล้ว ย่อมต้อง อยู่เคียงข้างกันในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่ายามสุข หรือทุกข์ โปรดประทานอนุญาติให้หม่อมฉัน ติดตามไปด้วยเถิด" หพระเวสสันดรไม่ทรงประสงค์ให้พระนางมัทรี ติดตามพระองค์ไป เพราะการเดินทางไปจาก พระนครย่อมมีแต่ความยากลำบาก ทั้งพระองค์ เองก็ทรงปรารถนาจะเสด็จไปประทับบำเพ็ญ ศีลภาวนาอยู่ในป่า พระนางมัทรีไม่คุ้นเคยต่อสภาพเช่นนั้น ย่อมจะต้องลำบากยากเข็ญทั้ง อาหารการกินและความเป็นอยู่ แต่ไม่ว่าพระเวสสันดรจะตรัสห้ามปรามอย่างไร นาง ก็มิยอมฟัง บรรดาพระประยูรญาติ ก็พากันอ้อนวอนขอร้อง พระนางก็ทรงยืนกรานว่า จะติดตามพระราชสวามีไปด้วย พระนางผุสดีจึงทรงไปทูลขอพระเจ้าสัญชัย มิให้ขับพระเวสสันดรออกจากเมือง พระเจ้าสัญชัยตรัสว่า "บ้านเมืองจะเป็นสุขได้ก็ต่อ เมื่อราษฏรเป็นสุข พระราชาจะเป็นสุขได้ก็ เมื่อราษฏรเป็นสุข ถ้าราษฏรมีความทุกข์ พระราชาจะนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร ราษฏรพากัน กล่าวโทษพระเวสสันดรว่าจะทำให้บ้านเมือง ยากเข็ญ เราจึงจำเป็นต้องลงโทษ แม้ว่าพระเวสสันดรจะเป็นลูกของเราก็ตาม" ไม่ว่าผู้ใดจะห้ามปรามอย่างไร พระนางมัทรีก็จะตามเสด็จพระเวสสันดรไปให้จงได้ พระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดีจึงขอเอา พระชาลี พระกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรไว้ แต่พระนางมัทรีก็ไม่ยินยอม ทรงกล่าวว่า "เมื่อชาวเมืองสีวีรังเกียจพระเวสสันดร ให้ขับไล่ไปเสียดังนี้ พระโอรสธิดาจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร ชาวเมืองโกรธแค้นขึ้นมา พระชาลีกัณหาก็จะทรงได้รับความลำบาก จึงควรที่จะออกจากเมืองไปเสียพร้อม พระบิดาพระมารดา"
ในที่สุดพระเวสสันดร พร้อมด้วยพระมเหสี และโอรสธิดาก็ออกจากเมืองสีวีไป แม้ใน ขณะนั้นชาวเมือง ยังตามมาทูลขอรถพระที่นั่ง ทั้งสี่พระองค์จึงต้องทรงดำเนินด้วยพระบาทออกจากเมืองสีว ีมุ่งไปสู่ป่า เพื่อบำเพ็ญพรตภาวนา ครั้นเสด็จมาถึงเมืองมาตุลนคร บรรดากษัตริย์เจตราชทรงทราบข่าว จึงพากันมาต้อนรับ พระเวสสันดร ทรงถามถึงทางไปสู่เขาวงกต กษัตริย์เจตราชก็ทรงบอกทางให้และเล่าว่า เขาวงกตนั้นต้องเดินทางผ่านป่าใหญ่ที่เต็ม ไปด้วยอันตราย แต่เมื่อไปถึงสระโบกขรณีแล้ว ก็จะเป็นบริเวณร่มรื่นสะดวกสบาย มีต้นไม้ผล ที่จะใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้กษัตริย์เจตราช ยังได้สั่งให้ พรานป่าเจตบุตร ซึ่งเป็นผู้ชำนาญ ป่าแถบนั้น ให้คอยเฝ้าระแวดระวังรักษาต้นทาง ที่จะไปสู่เขาวงกต เพื่อมิให้ผู้ใดไปรบกวนพระเวสสันตรในการบำเพ็ญพรต เว้นแต่ทูต จากเมืองสีวีที่จะมาทูลเชิญเสด็จกลับนครเท่านั้น ที่จะยอมให้ผ่านเข้าไปได้ เมื่อเสด็จไปถึงบริเวณสระโบกขรณีอันเป็นที่ร่มรื่นสบาย พระเวสสันดร พระนางมัทรี ตลอดจนพระโอรสธิดา ก็ผนวชเป็นฤาษี บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ ณ ที่นั้น โดยมีพรานป่าเจตบุตรคอยรักษาต้นทาง ณ ตำบลบ้านทุนนวิฐ เขตเมืองกลิงคราษฏร์
มีพราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก หาเลี้ยงชีพด้วยการ ขอทาน ชูชก ขอทานจนได้เงินมามาก จะเก็บไว้ เองก็กลัวสูญหาย จึงเอาไปฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้ อยู่มาวันหนึ่ง ชูชกไปหาพราหมณ์ที่ตนฝากเงินได้ จะขอเงินกลับไป ปรากฎว่า พราหมณ์นั้นนำเงินไปใช้หมดแล้ว จะหามาใช้ให้ชูชกก็หาไม่ทัน จึงจูงเอาลูกสาวชื่อ อมิตตดา มายกให้แก่ชูชก พราหมณ์กล่าวแก่ชูชกว่า "ท่านจงรับเอาอมิตตดาลูกสาวเราไปเถิด จะเอาไปเลี้ยงเป็นลูกหรือภรรยา หรือจะเอาไปเป็นทาสรับใช้ปรนนิบัติก็สุด แล้วแต่ท่านจะเมตตา" ชูชกเห็นนางอมิตตดาหน้าตาสะสวย งดงามก็หลงรัก จึงพานางไปบ้าน เลี้ยงดู นางในฐานะภรรยา นางอมิตตดาอายุยังน้อย หน้าตางดงาม และมีความกตัญญู ต่อพ่อแม่ นางจึงยอมเป็นภรรยาชูชกผู้แก่เฒ่า รูปร่างหน้าตาน่ารังเกียจ อมิตตดา ปรนนิบัติชูชกอย่างภรรยาที่ดีจะพึงกระทำทุกประการ นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง ชูชกไม่เคยต้องบ่นว่าหรือตักเตือนสั่งสอนแต่ อย่างใดทั้งสิ้น ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนาง อมิตตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตนที่มิได้ประพฤติตนเป็น แม่บ้านแม่เรือนอย่างอมิตตดา บางบ้านก็ถึงกับทุบตีภรรยาเพื่อให้รู้จักเอาอย่างนาง เหล่านางพราหมณีทั้งหลายได้รับความเดือดร้อน ก็พากันโกรธแค้นนางอมิตตดา ว่าเป็นต้นเหตุ
วันหนึ่งขณะที่นางไปตักน้ำในหมู่บ้าน บรรดานางพราหมณีก็รุมกันเย้ยหยันที่นางมีสามีแก่ หน้าตาน่าเกลียดอย่างชูชก นางพราหมณีพากันกล่าวว่า "นางก็อายุน้อย หน้าตางดงาม ทำไมมา ยอมอยู่กับเฒ่าชรา น่ารังเกียจอย่างชูชก หรือว่ากลังจะหาสามีไม่ได้ มิหนำซ้ำยังทำ ตนเป็นกาลกิณี พอเข้ามาในหมู่บ้านก็ทำให้ ชาวบ้านสิ้นความสงบสุข เขาเคยอยู่กันมาดีๆ พอนางเข้ามาก็เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า หาความสงบ ไม่ได้ นางอย่าอยู่ในหมู่บ้านนี้เลย จะไปไหนก็ไปเสียเถิด" ไม่เพียงกล่าววาจาด่าทอ ยังพากันหยิกทึ้ง ทำร้ายนางอมิตตดา จนนางทนไม่ได้ ต้องหนีกลับบ้านร้องไห้ มาเล่าให้ชูชกฟัง ชูชกจึงบอกว่าต่อไปนี้นางไม่ต้องทำการ งานสิ่งใด ชูชกจะเป็นฝ่ายทำให้ทุกอย่าง นางอมิตตดาจึงว่า "ภรรยาที่ดีจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร จะปล่อยให้สามีมาปรนนิบัติรับใช้ เราทำไม่ได้หรอก ลูกหญิงที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนมาดี ย่อมจะไม่นั่งนอนอยู่เฉยๆ ดีแต่ชี้นิ้วให้ผู้อื่นปรนนิบัติตน นี่แน่ะ ชูชก ถ้าท่านรักเราจริง ท่านจงไปหาบริวารมาปรนนิบัติรับใช้เราดีกว่า" ชูชกได้ฟังดังนั้นก็อัดอั้นตันใจ ไม่รู้จะไปหาข้าทาสหญิงชายมาจากไหน นางอมิตตดา จึงแนะว่า "ขณะนี้ พระเวสสันดรเสด็จออกมา จากเมืองสีวี มาทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า เขาวงกต พระองค์เป็นผู้ใฝ่ในการบริจาคทาน ท่านจงเดินทางไปขอบริจาคพระชาลีกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรมาเป็นข้าทาส ของเราเถิด" ชูชกไม่อยากเดินทางไปเลยเพราะกลัวอันตรายในป่า แต่ครั้นจะไม่ไปก็กลัวนางอมิตตดาจะทอดทิ้ง ไม่ยอมอยู่กับตน
ในที่สุดชูชกจึงตัดสินใจเดินทางไปเขาวงกตเพื่อทูลขอพระชาลีกัณหา เมื่อไปถึงบริเวณปากทางเข้าสู่เขาวงกต ชูชกก็ได้พบพรานเจตบุตรผู้รักษาปากทาง หมาไล่เนื้อที่พรานเลี้ยงไว้พากันรุมไล่ต้อนชูชกขึ้นไปจนมุมอยู่บนต้นไม้ เจตบุตรก็เข้า ไปตะคอกขู่ ชูชกนั้นเป็นคนมีไหวพริบ สังเกตดูเจตบุตรก็รู้ว่าเป็นคนซื่อสัตย์ มีฝีมือเข้มแข็ง แต่ขาดไหวพริบ จึงคิดจะใช้วาาจาลวง เจตบุตรให้หลงเชื่อ พาตนเข้าไปพบพระเวสสันดรให้ได้ ชูชกจึงกล่าวแก่เจตบุตรว่า "นี่แนะ เจ้าพรานป่าหน้าโง่ เจ้าหารู้ไม่ว่าเราเป็นใคร ผู้อื่นเขา จะเดินทางมาให้ยากลำบากทำไมจนถึงนี่ เรามาในฐานะทูต ของพระเจ้าสัญชัย เจ้าเมืองสีวี จะมาทูลพระเวสสันดรว่า บัดนี้ชาวเมืองสีวีได้คิดแล้ว จะมาทูล เชิญเสด็จ กลับพระนคร เราเป็นผู้มาทูลพระองค์ไว้ก่อน เจ้ามัวมาขัดขวางเราอยู่ อย่างนี้ เมื่อไรพระเวสสันดรจะได้ เสด็จคืนเมือง" เจตบุตรได้ยินก็หลงเชื่อ เพราะมีความจงรักภักดี อยากให้พระเวสสันดรเสด็จกลับ เมืองอยู่แล้ว จึงขอโทษชูชก จัดการหาอาหารมาเลี้ยงดู แล้วชี้ทางให้เข้าไปสู่อาศรม ที่พระเวสสันดรบำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ เมื่อชูชกมาถึงอาศรมก็คิดได้ว่า หากเข้าไปทูลขอ พระโอรสธิดาในขณะพระนางมัทรีอยู่ด้วย พระนางคงจะไม่ยินยอมยกให้เพราะความรัก อาลัยพระโอรสธิดา จึงควรจะรอจนพระนางเสด็จไปหาผลไม้ในป่าเสียก่อน จึงค่อยเข้า ไปทูลขอต่อพระเวสสันดรเพียงลำพัง ในวันนั้น พระนางมัทรีทรงรู้สึกไม่สบายพระทัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะในตอนกลางคืน พระนางทรงฝันร้ายว่า มีบุรุษร่างกายกำยำ ถือดาบ มาตัดแขนซ้ายขวาของพระนางขาด ออกจากกาย บุรุษนั้นควักดวงเนตร ซ้ายขวา แล้วยังผ่าเอาดวงพระทัยพระนางไปด้วย พระนางมัทรีทรงสังหรณ์ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น จึงทรงละล้าละลังไม่อยากไปไกลจาก อาศรม แต่ครั้นจะไม่เสด็จไปก็จะไม่มีผลไม้มาให้พระเวสสันดรและโอรสธิดาเสวย พระนางจึงจูงโอรสธิดาไปทรงฝากฝังกับ พระเวสสันดรขอให้ทรงดูแล ตรัสเรียกหา ให้เล่นอยู่ใกล้ๆ บรรณศาลา พร้อมกับเล่าความฝันให้พระเวสสันดรทรงทราบ พระเวสสันดรทรงหยั่งรู้ว่าจะมีผู้มาทูลขอพระโอรสธิดา แต่ครั้นจะบอกความตามตรง พระนางมัทรีก็คงจะทนไม่ได้ พระองค์เองนั้น ตั้งพระทัยมั่นว่าจะบริจาคทรัพย์สมบัติทุกสิ่งทุกประการในกายนอกกาย แม้แต่ชีวิตและ เลือดเนื้อของพระองค์ หากมีผู้มาทูลขอก็จะ ทรงบริจาคให้โดยมิได้ทรงเสียดายหรือหวาดหวั่น พระเวสสันดรจึงตรัสกับพระนางมัทรีว่าจะดูแลพระโอรสธิดาให้ พระนางมัทรีจึงเสด็จไปหาผลไม้ในป่าแต่ลำพัง
ครั้นชูชกเห็นได้เวลาแล้ว จึงมุ่งมาที่อาศรม ได้พบพระชาลีพระกัณหาทรงเล่นอยู่หน้าอาศรม ก็แกล้งขู่ ให้สองพระองค์ตกพระทัยเพื่อข่มขวัญไว้ก่อน แล้วชูชกพราหมณ์เฒ่าก็เข้าไปเฝ้า พระเวสสันดรกล่าววาจากราบทูลด้วยโวหาร อ้อมค้อมลดเลี้ยว ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อทูลขอ พระโอรสธิดาไปเป็นข้าช่วงใช้ของตน พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรงกระทำบุตรทาน คือ การบริจาคบุตรเป็นทาน อันหมายถึงว่า พระองค์เป็นผู้สละกิเลส ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติทั้งปวง แม้กระทั่งบุคคลอันเป็นที่รัก ก็สามารถสละ เป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่พระองค์ทรงผัดผ่อนต่อชูชกว่า ขอให้ พระนางมัทรีกลับมาจากป่าได้ร่ำลาโอรสธิดา เสียก่อนชูชกก็ไม่ยินยอม กลับทูลว่า"หากพระนางกลับมา สัญชาตญาณแห่งมารดา ย่อมจะทำให้พระนางหวงแหนห่วงใย พระโอรสธิดา ย่อมจะไม่ทรงให้พระโอรส ธิดาพรากจากไปได้ หากพระองค์ทรง ปรารถนาจะบำเพ็ญทานจริง ก็โปรดยกให้หม่อมฉันเสียแต่บัดนี้เถิด" พระเวสสันดรจนพระทัยจึงตรัสเรียกหาพระโอรสธิดา แต่พระชาลีกัณหาซึ่งแอบฟัง ความอยู่ใกล้ๆ ได้ ทราบว่า พระบิดาจะยกตน ให้แก่ชูชก ก็ทรงหวาดกลัว จึงพากันไปหลบซ่อน โดยเดินถอยหลังลงสู่สระบัว เอาใบบัว บังเศียรไว้ ชูชกเห็นสองกุมารหายไป จึงทูลประชดประชันพระเวสสันดรว่าไม่เต็มพระทัย บริจาคจริง ทรงให้สัญญาณสองกุมารหนีไปซ่อนตัวเสียที่อื่น พระเวสสันดร จึงทรงต้องออกมาตามหาพระชาลีกัณหา
ครั้นทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าเดินขึ้นมาจากสระ จึงตรัสเรียกพระโอรสธิดาว่า "ชาลีกัณหา เจ้าจงขึ้นมาหาพ่อเถิด หากเจ้านิ่งเฉยอยู่ พราหมณ์เฒ่าก็จะเยาะเย้ยว่าพ่อนี้ ไร้วาจาสัตย์ พ่อตั้งใจจะบำเพ็ญทานบารมี เพื่อสละละกิเลสให้บรรลุพระโพธิญาณ จะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ในภายภาคหน้า ให้พ้นจากทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด เจ้าจงมาช่วยพ่อประกอบการบุญเพื่อบรรลุผล คือ พระโพธิญาณนั้นเถิด" ทั้งสองกุมารทรงได้ยินพระบิดาตรัสเรียก ก็ทรงรำลึกได้ถึงหน้าที่ของบุตรที่ดี ที่ต้องเชื่อฟังบิดามารดา รำลึกได้ถึงความพากเพียรของพระบิดาที่จะประกอบ บารมีเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส ทั้งยังรำลึกถึงขัตติยมานะว่าทรงเป็น โอรสธิดากษัตริย์ไม่สมควรจะหวาดกลัวต่อสิ่งใด จึงเสด็จขึ้นมาจากสระบัว พระบิดาก็จูงทั้งสองพระองค์มาทรงบริจาคเป็นทานแก่ชูชก ชูชกครั้นได้ตัวพระชาลีกัณหาเป็นสิทธิขาดแล้ว ก็แสดงอำนาจฉุดลากเอาสอง กุมารเข้าป่าไป เพื่อจะให้เกิดความยำเกรงตน พระเวสสันดรทรงสงสารพระโอรสธิดา แต่ก็ไม่อาจทำประการใดได้เพราะทรงถือว่า ได้บริจาคเป็นสิทธิแก่ชูชกไปแล้ว
ครั้นพระนางมัทรีทรงกลับมาจากป่าในเวลาพลบค่ำ เที่ยวตามหาโอรสธิดาไม่พบ ก็มาเฝ้าทูลถามจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรจะทรงตอบความจริงก็เกรงว่า นางจะทนความเศร้าโศกมิได้ จึงทรงแกล้งตำหนิว่านางไปป่าหาผลไม้กลับมาจนเย็นค่ำ คงจะรื่นรมย์มากจนลืมนึกถึงโอรสธิดาและสวามีที่คอยอยู่ พระนางมัทรี ได้ทรงฟัง ก็เสียพระทัย ทูลตอบว่า "เมื่อหม่อมฉันจะกลับอาศรม มีสัตว์ร้ายวนเวียนดักทางอยู่ หม่อมฉันจะมา ก็มามิได้จนเย็นค่ำ สัตว์ร้ายเหล่านั้นจึงจากไป หม่อมฉันมีแต่ความสัตย์ซื่อ มิได้เคยนึกถึงความสุขสบายส่วนตัวเลยแม้แต่น้อยนิด บัดนี้ลูกของหม่อมฉันหายไป จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรก็มิทราบ หม่อมฉันจะเที่ยวติดตามหาจนกว่าจะพบลูก"
พระนางมัทรีทรงออกเที่ยวตามหาพระชาลีกัณหาตามรอบบริเวณศาลา เท่าไรๆ ก็มิได้ พบจนในที่สุด พระนางก็สิ้นแรงถึงกับสลบไป พระเวสสันดรทรงเวทนา จึงทรงนำน้ำเย็นมาประพรมจนนางฟื้นขึ้น ก็ตรัสเล่าว่าได้บริจาค โอรสธิดาแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว ขอให้พระนางอนุโมทนาในทานบารมีที่ทรงกระทำ ไปนั้นด้วยบุตรทานที่พระราชสวามีทรงบำเพ็ญ และมีพระทัยค่อยบรรเทาจากความโศกเศร้า
ฝ่ายท้าวสักกะเทวราชทรงเล็งเห็นว่า หากมีผู้มาทูลขอพระนางมัทรีไป พระเวสสันดร ก็จะทรงลำบาก ไม่อาจบำเพ็ญเพียรได้เต็มความปรารถนา เพราะต้องทรงแสวงหาอาหารประทังชีวิต ท้าวสักกะจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์ มาขอรับบริจาคพระนางมัทรี พระเวสสันดร ก็ทรงปิติยินดีที่จะได้ประกอบทารทาน คือ การบริจาคภรรยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น พระนางมัทรีก็ทรงเต็มพระทัยที่จะได้ทรงมีส่วนในการ บำเพ็ญทานบารมีตามที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระทัยไว้
เมื่อได้รับบริจาคแล้ว ท้าวสักกะก็ทรงกลับคืนร่างดังเดิม และตรัสสรรเสริญอนุโมทนาในกุศลแห่งทานบารมีของพระเวสสันดร แล้วถวายพระนางมัทรีกลับคืนแด่พระเวสสันดร พระเวสสันดรจึงได้ทรงประกอบบุตรทารทาน อันยากที่ผู้ใดจะกระทำได้ สมดังที่ได้ตั้งพระทัย ว่าจะบริจาคทรัพย์ของพระองค์เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยปราศจากความหวงแหนเสียดาย
ฝ่ายชูชกพาสองกุมารเดินทางมาในป่า ระหกระเหินได้รับความลำบากเป็นอันมาก และหลงทางไปจนถึงเมืองสีวี บังเอิญผ่านไปหน้าที่ประทับ พระเจ้าสัญชัยทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหาให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว บรรดาเสนาอำมาตย์และประชาชนทั้งหลาย ต่างก็พากันสงสารพระกุมารทั้งสอง และ ตำหนิพระเวสสันดรที่มิได้ทรงห่วงใยพระโอรสธิดา
พระชาลีเห็นผู้อื่นพากันตำหนิติเตียนพระบิดาจึงทรงกล่าวว่า "เมื่อพระบิดาเสด็จไปผนวชอยู่ในป่า มิได้ทรงมีสมบัติใดติดพระองค์ไป แต่ทรงมีพระทัยแน่วแน่ที่จะสละกิเลส ไม่หลงใหลหวงแหนในสมบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้บุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมสละได้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพราะทรงมีพระทัยมั่นในพระโพธิญาณในภายหน้า ความรัก ความหลง ความโลภ ความโกรธ เป็นกิเลสที่ขวางกั้นหนทางไปสู่พระโพธิญาณ พระบิดาของหม่อมฉันสละกิเลสได้ดังนี้ จะมาตำหนิติเตียนพระองค์หาควรไม่"
พระเจ้าสัญชัยได้ทรงฟังดังนั้นก็ยินดี จึงตรัสเรียกพระชาลีให้เข้าไปหา แต่พระชาลี ยังคงประทับอยู่กับชูชก และทูลว่าพระองค์ยังเป็นทาสของชูชกอยู่ พระเจ้าสัญชัยจึงขอไถ่สองกุมารจากชูชก พระชาลีตรัสว่า พระบิดาตีค่าพระองค์ไว้พันตำลึงทอง แต่พระกัณหานั้นเป็นหญิง พระบิดาจึงตีค่าตัวไว้สูง เพื่อมิให้ผู้ใดมาไถ่ตัวหรือซื้อขายไปได้ง่ายๆ พระกัณหา นั้นมีค่าตัวเท่ากับทรัพย์เจ็ดชีวิต เจ็ดสิ่ง เช่น ข้าทาส หญิงชาย เป็นต้น สิ่งละเจ็ดร้อย กับทองคำอีกร้อยตำลึง พระเจ้าสัญชัยก็โปรดให้เบิกสมบัติท้องพระคลัง มาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัดข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก เพื่อตอบแทนที่พาพระนัดดากลับมาถึงเมือง
ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภคอาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่ความตายในที่สุด พระเจ้าสัญชัยโปรด ให้จัดการศพแล้วประกาศหาผู้รับมรดก ก็หามีผู้ใดมาขอรับไม่ หลังจากนั้น พระเจ้าสัญชัย จึงตรัสสั่งให้จัดกระบวนเสด็จเพื่อไปรับ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับคืนสู่เมืองสีวี เพราะบรรดาประชาชนก็พากันได้คิดว่า พระเวสสันดรได้ทรงประกอบทานบารมี อันยิ่งใหญ่กว่าทั้งหลายทั้งปวง ก็เพื่อประโยชน์ แห่งผู้คนทั้งหลาย หาใช่เพื่อพระองค์เองไม่ เมื่อกระบวนไปถึงอาศรมริมสระโบกขรณี กษัตริย์ทั้งหกก็ทรงได้พบกันด้วยความโสมนัสยินดี
พระเจ้าสัญชัยจึงตรัสบอกพระเวสสันดรว่า ประชาชนชาวสีวีได้เห็นสิ่งที่ถูกที่ควรแล้ว และพากันร่ำร้อง ได้ทูลเชิญเสด็จกลับเมืองสีวี พระเวสสันดร พระนางมัทรี และพระชาลีกัณหา จึงได้เสด็จกลับเมือง พระเจ้าสัญชัยทรงอภิเษกพระเวสสันดรขึ้นครองเมืองสืบต่อไป
ครั้นได้เป็นพระราชาแห่งสีวี พระเวสสันดรก็ทรงยึดมั่นในการประกอบทานบารมี ทรงตั้งโรงทานบริจาคเป็นประจำทุกวัน ชาวเมืองสีวีตลอดจนบ้านเมืองใกล้เคียง ก็ได้รับพระเมตตากรุณา มีความร่มเย็นเป็นสุข ชาวเมืองต่างก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน มิได้โลภ กระหายในทรัพย์สมบัติ ต่างก็มีจิตใจผ่องใสเป็นสุข เหมือนดังที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระปณิธานว่า พระองค์จะทรงบริจาคทรัพย์สมบัติทั้งปวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยทรัพย์ทั้งหลาย ทำให้เกิดกิเลส คือความโลภ ความหลงหวงแหน เมื่อบริจาคทรัพย์แล้ว ผู้รับก็จะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น และมีความชื่นชม ยินดี ผู้ให้ก็จะ อิ่มเอมใจว่าได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เกิดความปิติยินดีเช่นกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมได้รับ ความสุขความพึงพอใจดังนี้

ข้อสอบ 20 ข้อ

1. Multitasking ทำงานแบบใด ก. การทำงานได้หลายงานพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ข. การทำงานได้ทีละงาน ค. การทำงานได้ครั้งละหลาย ๆ โปรแกรม ง. การทำงานได้แค่โปรแกรมเดียวเท่านั้น
Multitasking คือการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆภายในเวลาเดียวกัน เช่น เขียนโปรแกรมไปเช็คอีเมล์ไป ขับรถไปคุยโทรศัพท์ไป ใช้ sms ในระหว่างที่เดินข้ามถนนและฟัง iPod ไปด้วย เป็นต้น
จาก http://www.blognone.com/node/4272
2.ซีดีรอมดิสก์เป็นตัวกลางทางใด ก. ไฟฟ้า ข. เสียง ค. แสง ง. แม่เหล็ก
CD-ROM เป็นตัวกลางของอะไร ตอบ ซีดีรอมดิสก์เป็นตัวกลางทางแสง ระหว่างการผลิตข้อมูล จะถูกบันทึกบนผิวหน้าของดิสก์ในร่องที่เล็กละเอียดมาก ...
จาก http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%8B%E0

3. ข้อใดคือแผนแบบซิงโครไนซ์ขั้นสูง ? ก. เซมมาฟอร์ ข. การดำเนินรอ ค. อาญาเขตวิกฤต ง บัฟเฟอร์วงกลม.
เซมมาฟอร์หรือซีมาฟอร์ (Semaphores). วิธีการแก้ปัญหาเขตวิกฤตที่สะดวกในการ ใช้งานกับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นด้วยวิธีที่เรียกว่า semaphore ซึ่งไดจก์สตร้า ...www.cs.khonwan.com/flie/OS-05-Process-3-2.ppt - Similar pages
http://www.google.co.th/search?hl=en&q=%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C+&meta=

4. ข้อใดกล่าวถึง ส่วนทราเซียนต์ได้ถูกต้อง ก. ถูกโหลดเข้าสุ่หน่วยความจำเหนือส่วนอยู่อย่างถาวร ข. ถูกโหลดเข้าสุ่หน่วยความจำในระดับบนสุดของหน่วยความจำ, ค. ไม่มีข้อใดถูก ง. ถูกทุกข้อ.
จาก www.bcoms.net/test_online/view.asp?subj=15&process=show - 55k

5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ command.com
ก. คือส่วนที่ผุ้ใช้ทั้งหมดเกี่ยวข้องด้วย เราเรียกว่า - ตัวแปรคำสั่ง
ข. คือส่วนที่ผู้ใช้ทั้งหมดไม่ได้เกี่ยวข้อด้วย เราเรียกว่า ตัวแปรคำสั่ง
ค. ไม่มีข้อใดถูก
ง. ถูกทุกข้อ.
command.com คอมมานด์จุดคอม (ชื่อแฟ้มระบบ). ความหมาย เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ในระบบดอส ซึ่งบรรจุคำสั่งระบบต่าง ๆ เช่น dir, copy, ... www.guru.sanook.com/dictionary/dict_comp/command.com/ - 33k

6. ข้อใดคือประเภทของเซมมาฟอร์ ?
ก. binary semaphone ข. counting semaphone
ค. ข้อ1และ2 ง. ไม่มีข้อถูก

7. เซมมาฟอร์ ตามคำนิยามหมายความว่าอย่างไร ?
ก. ตัวแปรที่ถูกแปรค่าไม่ได้ โดยผ่านคำสั่งพื้นฐานสำหรับซิงโครไนซ์
ข. ตัวแปรที่ถูกแปรค่าได้ โดยผ่านคำสั่งพื้นฐานสำหรับซิงโครไนซ์
ค. ตัวแปรที่ถูกแปรค่าได้ โดยผ่านคำสั่งพื้นฐานสำหรับอซิงโครไนซ์
ง. ตัวแปรที่ถูกแปรค่าได้ โดยผ่านคำสั่งตรวจ-ประทับสำหรับซิงโครไนซ์
เพราะ{~ตัวแปรที่ถูกแปรค่าไม่ได้ โดยผ่านคำสั่งพื้นฐานสำหรับซิงโครไนซ์=ตัวแปรที่ถูกแปรค่าได้ โดยผ่านคำสั่งพื้นฐานสำหรับซิงโครไนซ์ ~ตัวแปรที่ถูกแปรค่าได้ โดยผ่านคำสั่งพื้นฐานสำหรับอซิงโครไนซ์ ~ตัวแปรที่ถูกแปรค่าได้ โดยผ่านคำสั่งตรวจ-ประทับสำหรับซิงโครไนซ์}
จากhttp://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt
8. เดกเกอร์ คือใคร ?
ก. คนแรกที่พัฒนาตรรกของการเกียดกั้นซึ่งกันและกันสำหรับสองกระบวนการที่จวบกันจนเป็นผลสำเร็จ
ข. คนแรกที่พัฒนาตรรกของการจวบกันเชิงอะซิงโครนัส
ค. คนแรกที่พัฒนาตรรกของการสับหลีก
ง. คนแรกที่พัฒนาตรรกของระบบแบ่งเวลา
คนแรกที่พัฒนาตรรกของการเกียดกั้นซึ่งกันและกันสำหรับสองกระบวนการที่จวบกันจนเป็นผลสำเร็จ~คนแรกที่พัฒนาตรรกของการจวบกันเชิงอะซิงโครนัส ~คนแรกที่พัฒนาตรรกของการสับหลีก ~คนแรกที่พัฒนาตรรกของระบบแบ่งเวลา
http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt
9.แคช คืออะไร
ก. แรมชนิดพิเศษจำนวนหนึ่งที่มีความเร็วสูง
ข. โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่
ค. อัตราสัญญาณนาฬิกา
ง. คุณสมบัติรุ่นใหม่ของชิปรุ่นใหม่
แคช (cache) ส่วนของข้อมูลที่ถูกเก็บซ้ำไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการใช้งานครั้ง ต่อไป โดยไม่ต้องเรียกข้อมูลจากต้นแหล่งอีกครั้ง ...
http://www.google.com/search?hl=th&q=%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%8A+&lr=

10. ช่วงเวลาเข้าถึง มีลักษณะอย่างไร
ก. การวัดคุณภาพ.หน่วยความจำ
ข. การที่ซีพียูต้องรอ ซึ่งอาจรอสักจังหวะ
ค. เป็นการจัดวางตัวธรรมดา
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล)access time ความหมายหมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ

11. คำว่านาโนวินาที (ns: nanosecornd) มีความหมายว่าอย่างไร
ก. เศษหนึ่งส่วนล้าน-ของวินาที
ข. เศษสองส่วนล้านของวินาที
ค. เศษหนึ่งส่วนล้านล้านของนาที
ง. ไม่มีข้อใดถูก
นาโนวินาทีnanosecond
ความหมายเท่ากับ 1/พันล้านวินาที หรือ 10 -9 ใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานของชิป (chip)
http://guru.sanook.com/search

12. . หน่วยความจำชนิดใดที่มีหน่วยความจำขนาด 1 Mb ขึ้นไป
ก. หน่วยความจำปกติ
ข. หน่วยความจำอัปเปอร์
ค. หน่วยความจำสูง
ง. หน่วยความจำเอ็กเทนด์.หน่วยความจำชนิดใดที่มีหน่วยความจำขนาด 1 Mb ขึ้นไป คือหน่วยความจำปกติ สูง =หน่วยความจำเอ็กเทนด์.
http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt
13. บุริมภาพ มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก. ระดับที่บ่งเฉพาะสภาวะที่สำคัญ
ข. ระดับความสำคัญของกระบวนการนี้เทียบกับกระบวนการอื่น
ค. ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรต่าง ๆ ที่กระบวนการใช้
ง. ตัวชี้ไปยังหน่วยความจำหลักที่กันไว้เป็นส่วนตัวของกระบวนการนั้น{~ระดับที่บ่งเฉพาะสภาวะที่สำคัญ =ระดับความสำคัญของกระบวนการนี้เทียบกับกระบวนการอื่น~ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรต่าง ๆ ที่กระบวนการใช้ ~ตัวชี้ไปยังหน่วยความจำหลักที่กันไว้เป็นส่วนตัวของกระบวนการนั้น}
http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt

14. การจัดเก็บข้อมูลลงดิสก์ของดอสมีวิธีการจัดเก็บอย่างไร
ก. มีการแบ่งข้อมูลในแต่ละไฟล์ออกเป็นส่วนย่อยที่มีขนาดคงที่ และเป็นกลุ่มที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
ข. จัดแบบตารางจัดการไฟล์
ค. จะจัดเก็บแบบกระจายข้อมูลกันออกไปไม่ต่อเนื่องกัน
ง. จะบันทึกลงไปเลย โดยจะใช้เซคเตอร์เป็นตัวบ่งบอกการจัดเก็บข้อมูลลงดิสก์ของดอสมีวิธีการจัดเก็บอย่างไร {=มีการแบ่งข้อมูลในแต่ละไฟล์ออกเป็นส่วนย่อยที่มีขนาดคงที่ และเป็นกลุ่มที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ~จัดแบบตารางจัดการไฟล์ ~จะจัดเก็บแบบกระจายข้อมูลกันออกไปไม่ต่อเนื่องกัน~จะบันทึกลงไปเลย โดยจะใช้เซคเตอร์เป็นตัวบ่งบอก}http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt

15. วินโดว์ คืออะไรในระบบยูนิกซ์
ก. การหน้าต่างได้ทีละ 1 หน้าจอ
ข. การแบ่งจอภาพออกเป็นส่วน ๆ
ค. การแบ่งจอภาพออกได้ 1 ส่วนเท่านั้น
ง. การแบ่งอินพุตและเอาพุตออกจากกันการหน้าต่างได้ทีละ 1 หน้าจอ =การแบ่งจอภาพออกเป็นส่วน ๆ ~การแบ่งจอภาพออกได้ 1 ส่วนเท่านั้น ~การแบ่งอินพุตและเอาพุตออกจากกัน}
http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt
16. ค่าของเซมมาฟอร์ได้แก่ค่าอะไร ?
ก. 0 , 0 ข. 1 , 2 ค. 0 , 2 ง. 0 ,1 http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt

17. mismatch คืออะไร ?
ก. เป็นงานพวกที่ใช้หน่วยรับข้อมูลและแสดงผลมาก
ข. การเกิดความเหลื่อมล้ำ
ค. การเพิ่มความเร็วของหน่วยความจำและแสดงผล
ง. การทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกัน
Mismatch" คือ ปัญหาอะไรครับ ทางเทคนิค ๆ เลยนะครับแบบว่าอ่านแล้วแปล คร่าว ๆ ออกมาว่า น่าจะเป็น "ปัญหาของประสิทธิภาพที่ลดลง ...
http://www.google.co.th/search?hl=en&q=mismatch%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3&meta=

18. chmod 555 hi.let เป็นการกำหนดส่วนใด
ก. กำหนดให้ทั้ง 3 กลุ่มเข้างแฟ้มได้เต็มที่
ข. กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น
ค. กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของอ่านได้แต่แก้ไขแฟ้มไม่ได้
ง. กำหนดให้อ่านและประมวลผลแฟ้มได้แต่แก้ไขไม่ได้
chmod 555 hi.let เป็นการกำหนดส่วนใด {~กำหนดให้ทั้ง 3 กลุ่มเข้างแฟ้มได้เต็มที่ ~กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น ~กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของอ่านได้แต่แก้ไขแฟ้มไม่ได้ =กำหนดให้อ่านและประมวลผลแฟ้มได้แต่แก้ไขไม่ได้} http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt

19. คำสั่ง p (s) และ คำสั่ง v (s) เป็นคำสั่งประเภทไหน ?
ก. แบ่งแยกได้แต่ไม่สามารถถูกขัดได้โดยกระบวนการอื่นใด
ข. ไม่อาจแบ่งแยกได้และไม่สามารถถูกขัดได้โดยกระบวนการอื่นใด
ค. แบ่งแยกได้และสามารถถูกขัดได้โดยกระบวนการอื่นใด
ง. ไม่อาจแบ่งแยกได้แต่สามารถถูกขัดได้โดยกระบวนการอื่นใด{~แบ่งแยกได้แต่ไม่สามารถถูกขัดได้โดยกระบวนการอื่นใด =ไม่อาจแบ่งแยกได้และไม่สามารถถูกขัดได้โดยกระบวนการอื่นใด ~แบ่งแยกได้และสามารถถูกขัดได้โดยกระบวนการอื่นใด ~ไม่อาจแบ่งแยกได้แต่สามารถถูกขัดได้โดยกระบวนการอื่นใด}http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt
20. . เคอร์เนล คืออะไร
ก. ส่วนของตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ข. ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในระดับล่าง
ค. ตัวเชื่อมกับผู้ใช้
ง. โปรแกรมที่ใช้ในระบบ
{~ส่วนของตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่าง ๆ =ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในระดับล่าง ~ตัวเชื่อมกับผู้ใช้ ~โปรแกรมที่ใช้ในระบบ}http://203.172.182.172/elearning/loeidata/152/moddata/assignment/268/9152/a_EI_II_ae_i_Oe_Oe_15.txt

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ


วันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์



ก่อนหน้านี้ที่จะมีการกำหนดวันดังกล่าว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล
ในที่ประชุม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และสมเด็จพระเทพฯ ได้พระราชทานข้อคิดและมีรับสั่งว่า การกำหนดวันพระราชพิธีให้เลือกวันจากปฏิทิน โดยสมเด็จพระเทพฯทรงมีพระดำริให้พิธีกฐินออกพรรษา และประเพณีลอยกระทงของประชาชน ซึ่งตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ผ่านไปเสียก่อน
ที่ประชุมจึงลงมติเลือกวันพระราชพิธีฯ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2551


กำหนดวันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มีหมายกำหนดการพระราชพิธี ดังนี้
วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา 17.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา 07.00 น. เชิญพระโกศออกพระเมรุ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังท้องสนามหลวง, เวลา 16.30 น. พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เวลา 22.00 น. พระราชทานเพลิงพระศพฯ พิธีจริง (ในการนี้จะเป็นครั้งแรกที่โปรดให้ใช้เตาเผาไฟฟ้า)

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.00 น. เป็นการเก็บพระอัฐิ และเชิญพระโกศพระอัฐิไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระผอบพระสรีรางคาร ไปยังพระศรีรัตนเจดีย์ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา 10.30 น. เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระโกศอัฐิ ขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2551 บรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วันลอยกระทง




วันลอยกระทง


ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี




ลอยกระทง หมายถึง ประเพณีบูชารอยพระพุทธบาท แสดงความ สำนึกบุญคุณของแหล่งน้ำอันมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิ ตและเป็นการ การบูชาพระแม่คงคาเทวีตามความเชื่อแต่โบราณด้วยกระทง ดอกไม้ธูป เทียน ประกอบกับสิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้ วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 คำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้
ประวัติ การลอยกระทงเป็นนักขัตฤกษ์รื่นเริงของคนทั่วไป เมื่อเป็นพิธีหลวง เรียกว่า " พระราชพิธีจองเปรียง ลดชุดลอยโคมส่งน้ำ" ต่อมาเรียก "ลอยพระประทีป" พิธีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยดัง ปรากฏหลักฐานอยู่ใน หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น และได้กระทำต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดจนถึงสมัยกร ุงรัตนโกสินทร์ พิธีลอยกระทงเดิมทำกันในวันเพ็ญเดือน11 และวันเพ็ญเดือน12 ปัจจุบันพิธีลอยกระทงเฉพาะวันเพ็ญเดือน12 พิธีลอยกระทง สันนิษฐานว่าได้มาจากอินเดีย ตามลักธิพราหมณ์เชื่อว่า ลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำคงคง อันศักค์สิทธิ์ของอินเดีย และลอยเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่กลางเกษียรสมุทร อีกประการหนึ่ง ศาสนาพุทธเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการทำพิธีเพื่อต้อน รับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จจากเทวโลกสู่โลกมนุษย์ ภายหลังจากทรงเทศนาโปรด พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บ้างก็เชื่อว่าเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุไว้ในพระจุฬามณี พระเจดีย์บนสวรรค์ บางก็ว่าเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ทรงประทับไว้ ณ หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมหานทีในแคว้นทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) บางท่านก็ว่า ลอยกระทงเพื่อขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้เราได้อาศัยน้ำก ินน้ำใช้ และขออภัยพระแม่คงคา ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในน้ำ เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 12 ประชาชนจะจัดทำกระทงเป็นรูปต่าง ๆด้วยใบตอง หรือกาบใบต้นพลับพลึง หรือวัสดุอื่น ๆ ประดับตกแต่งกระทงให้สวยงามด้วยดอกไม้สดในกระทงจะปักธูปเทียน บางทีก็ใส่สตางค์ หรือหมากพลูลงไปด้วยสมัยก่อนในพิธีลอยกระทงมีการเล่น สักวาเล่นเพลงเรือและมีแสดง มหรสพประกอบงานมีการประกวด นางนพมาศ ประกวด กระทงและร่วมกันลอยกระทง โดยจุดธูปเทียน กล่าวอธิษฐานตามที่ใจปรารถนาและปล่อยกระทงให้ลอยไปตามน้ำ