วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ


วันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์



ก่อนหน้านี้ที่จะมีการกำหนดวันดังกล่าว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล
ในที่ประชุม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และสมเด็จพระเทพฯ ได้พระราชทานข้อคิดและมีรับสั่งว่า การกำหนดวันพระราชพิธีให้เลือกวันจากปฏิทิน โดยสมเด็จพระเทพฯทรงมีพระดำริให้พิธีกฐินออกพรรษา และประเพณีลอยกระทงของประชาชน ซึ่งตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ผ่านไปเสียก่อน
ที่ประชุมจึงลงมติเลือกวันพระราชพิธีฯ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2551


กำหนดวันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มีหมายกำหนดการพระราชพิธี ดังนี้
วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา 17.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา 07.00 น. เชิญพระโกศออกพระเมรุ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังท้องสนามหลวง, เวลา 16.30 น. พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เวลา 22.00 น. พระราชทานเพลิงพระศพฯ พิธีจริง (ในการนี้จะเป็นครั้งแรกที่โปรดให้ใช้เตาเผาไฟฟ้า)

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.00 น. เป็นการเก็บพระอัฐิ และเชิญพระโกศพระอัฐิไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระผอบพระสรีรางคาร ไปยังพระศรีรัตนเจดีย์ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา 10.30 น. เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระโกศอัฐิ ขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2551 บรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วันลอยกระทง




วันลอยกระทง


ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี




ลอยกระทง หมายถึง ประเพณีบูชารอยพระพุทธบาท แสดงความ สำนึกบุญคุณของแหล่งน้ำอันมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิ ตและเป็นการ การบูชาพระแม่คงคาเทวีตามความเชื่อแต่โบราณด้วยกระทง ดอกไม้ธูป เทียน ประกอบกับสิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้ วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 คำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้
ประวัติ การลอยกระทงเป็นนักขัตฤกษ์รื่นเริงของคนทั่วไป เมื่อเป็นพิธีหลวง เรียกว่า " พระราชพิธีจองเปรียง ลดชุดลอยโคมส่งน้ำ" ต่อมาเรียก "ลอยพระประทีป" พิธีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยดัง ปรากฏหลักฐานอยู่ใน หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น และได้กระทำต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดจนถึงสมัยกร ุงรัตนโกสินทร์ พิธีลอยกระทงเดิมทำกันในวันเพ็ญเดือน11 และวันเพ็ญเดือน12 ปัจจุบันพิธีลอยกระทงเฉพาะวันเพ็ญเดือน12 พิธีลอยกระทง สันนิษฐานว่าได้มาจากอินเดีย ตามลักธิพราหมณ์เชื่อว่า ลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำคงคง อันศักค์สิทธิ์ของอินเดีย และลอยเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่กลางเกษียรสมุทร อีกประการหนึ่ง ศาสนาพุทธเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการทำพิธีเพื่อต้อน รับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จจากเทวโลกสู่โลกมนุษย์ ภายหลังจากทรงเทศนาโปรด พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บ้างก็เชื่อว่าเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุไว้ในพระจุฬามณี พระเจดีย์บนสวรรค์ บางก็ว่าเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ทรงประทับไว้ ณ หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมหานทีในแคว้นทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) บางท่านก็ว่า ลอยกระทงเพื่อขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้เราได้อาศัยน้ำก ินน้ำใช้ และขออภัยพระแม่คงคา ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในน้ำ เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 12 ประชาชนจะจัดทำกระทงเป็นรูปต่าง ๆด้วยใบตอง หรือกาบใบต้นพลับพลึง หรือวัสดุอื่น ๆ ประดับตกแต่งกระทงให้สวยงามด้วยดอกไม้สดในกระทงจะปักธูปเทียน บางทีก็ใส่สตางค์ หรือหมากพลูลงไปด้วยสมัยก่อนในพิธีลอยกระทงมีการเล่น สักวาเล่นเพลงเรือและมีแสดง มหรสพประกอบงานมีการประกวด นางนพมาศ ประกวด กระทงและร่วมกันลอยกระทง โดยจุดธูปเทียน กล่าวอธิษฐานตามที่ใจปรารถนาและปล่อยกระทงให้ลอยไปตามน้ำ